มาจัดการ Internal Traffic ใน Google Analytics กันเถอะ
Internal Traffic ในรายงาน Google Analytics
ปัญหา Internal Traffic ในรายงาน Google Analytics นั้นหลายๆคนอาจจะมองข้ามกันไป แต่ถ้าบังเอิญว่าเว็บไซต์ของคุณนั้น เป็นเว็บไซต์ของบริษัทที่มีพนักงานจำนวนมาก แน่นอนว่า Traffic ของพนักงานเหล่านั้น จะทำให้รายงานของเรานั้นมีค่าที่มากกว่าปกติ มีการผิดเพี้ยนไปจากข้อมูลที่เราควรจะได้รับ
สมมุติว่าบริษัทผมมีพนักงาน 500 คน ทั้ง 500 คนนั้นเข้ามาที่เว็บไซต์กันวันละครั้งสองครั้ง ผมจะมี sessions ภายในเกิดขึ้นมาวันละ 1,000 sessions ไม่อยากจะคิดเลยว่ามันทำให้ข้อมูลที่เอาไปใช้ต่อผิดเพี้ยนไปเท่าไหร่ ดังนั้นแล้ว เราควรจะ Filters เจ้า Internal Traffic นี้ออกไปจากรายงานของเรากันครับ
วิธีการดู IP Address แบบง่ายๆ
วิธีการดู IP Address แบบง่ายๆนั้นสามารถเข้าไปที่ Google แล้วพิมพ์ว่า My IP Address มันก็จะแสดงเลข IP ของคุณให้ดูอย่างรูปตัวอย่างข้างล่างนะครับ
Public IP Address นั้นจะแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกันก็คือ
- Static (Fixed IP ถูกกำหนดมาให้และไม่มีการเปลี่ยนแปลง)
- Dynamic (จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามที่ผู้ให้บริการกำหนดมา และเมื่อเรา Restart คอม)
ซึ่ง IP Address ที่ยากแก่การนำมา Filters ออกจากรายงานของเราก็คือเจ้า Dynamic นี่แหล่ะครับ เพราะเค้าแจก IP เราออกมาเป็นช่วง ซึ่งมันจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอด เช่น 192.168.100.1 แจกไปจนถึง 192.168.100.100 จะเห็นว่าเค้าให้ IP เรามาตั้ง 100 เลข !
วิธีสร้าง IP Address Filter
ก่อนที่เราจะไปสร้าง Filter เพื่อกรองข้อมูลจาก Internal Traffic นั้น อยากจะแนะนำให้เพื่อนๆสร้าง View ใน Google Analytics ขึ้นมาใหม่ก่อนทุกครั้งนะครับ เพราะข้อมูลที่ถูก Filter นั้นจะไม่มีผลกับข้อมูลเดิม และมัน Undo ไม่ได้นะครับ
ขั้นตอนการสร้าง Filter แบบ Fixed IP นั้นสามารถทำได้ดังนี้ครับ
1. เลือก Filter Type แบบ Predefined ครับ
2. จาก Drop Down เลือกเป็นแบบ Exclude ครับ (เพราะเราจะตัด Internal Traffic ออกนั่นเอง)
3. และเลือก traffic from the IP addresses (เพราะเราจะตัด Internal Traffic ด้วยเลข IP)
4. กรอกเลข IP Address ที่เราต้องการจะ Filter ออกได้เลยครับ
ขั้นตอนการสร้าง Filter แบบ Dynamic IP นั้นสามารถทำได้ดังนี้ครับ
ในตัวอย่างนี้จะสมมุติว่า IP ที่แจกนั้นจะอยู่ในช่วง 192.168.100.1 – 192.168.100.99 นะครับ ซึ่งการจะนำเลข IP ไปใช้ Filter นั้นอาจจะต้องใช้ Regular Expressions (Regex) เข้ามาช่วยด้วย ตัวอย่างที่ยกมานั้น สามารถเขียนแทนที่ด้วย ^192\.168\.100\.([1-9]|[1-9][0-9])$ (เดี๋ยวอธิบายเรื่อง Regex อีกทีด้านล่างนะครับ เอาผลลัพท์มาใช้งานก่อน)
1. เลือก Filter Type แบบ Custom ครับ
2. เลือกติ๊กที่หัวข้อ Exclude ครับ (แน่นอน เพราะเราจะตัด Internal Traffic ออกครับ)
3. ในช่อง Filter Pattern นั้นใส่ Regex ที่เราสร้างมาครับคือ ^192\.168\.100\.([1-9]|[1-9][0-9])$
หลังจากที่เราสร้าง Filter ขึ้นมาให้กับ Internal Traffic เป็นที่เรียบร้อย ลองเข้าไปเช็ครายงานของเราดูได้เหมือนเดิมที่ Real Time Reports ใน Google Analytics เช่นเดิมครับ
ของแถมครับ Regular Expressions
Regular Expressions หรือเรียกย่อๆว่า Regex นั้นคือรูปแบบหรือกลุ่มคำ (Pattern) ที่เรากำหนดขึ้นมา เพื่อเอาไว้ค้นหาข้อความหรือตัวอักขระต่างๆ เพื่อเช็คว่าตรงตามเงื่อนไข (Pattern) ที่เรากำหนดไว้หรือไม่ ส่วนใหญ่ผู้ที่คุ้นเคยกับ Regex นั้นจะเป็นบรรดา Programmer เพราะมันถูกใช้ในการเขียนโปรแกรมซะเยอะเลยครับ
ในส่วนของ Google Analytics เองนั้นก็สามารถนำ Regex มาใช้ได้เช่นกันครับ ตัวอย่างของการใช้ Regex ง่ายๆนั้น จะยกมาจากตัวอย่างที่เราเพิ่งใช้ไปด้านบนนะครับ ^192\.168\.100\.([1-9]|[1-9][0-9])$
^ คือการเริ่มต้น line ครับ
$ คือการลงท้ายบรรทัด
| แทนคำว่า “หรือ”
\ คือการให้แปลความหมายตรงตัว เช่น 192\.168\.100\ คือการค้นหา 192.168.100 นั่นเอง (เพราะ . มันเป็นอักขระพิเศษ เราเลยใช้ \. มาบังคับให้อ่านค่าเป็น . ธรรมดานั่นเอง)
[] เอาไว้จับคู่ข้อมูลในวงเล็บนั่นเอง เช่น [1-9] หมายถึงเลขไหนก็ได้ 1-9 หรืออีกตัวอย่างนึง ([1-9]|[1-9][0-9]) หมายถึง เลขไหนก็ได้ 1-9 หรือเลข 10 – 99
สรุปแล้ว ^192\.168\.100\.([1-9]|[1-9][0-9])$ จะแทนที่ช่วงของเลข IP ดังนี้ครับ 192.168.100.1 – 192.168.100.99 ไม่เพียงแต่เลข IP ที่เราเอา Regex มาใช้งานนะครับ เรายังสามารถนำไปใช้กับ ชื่อ domain หรือ subdomain ก็ได้อีกด้วยเช่นกัน
สำหรับใครที่ใช้แค่ช่วงของ IP แล้วขี้เกียจเขียน Regex เอง ลองใช้เครื่องมือฟรีๆนี้ได้เช่นกันครับ IP Range Regular Expression Builder ก็สะดวกไปอีกแบบนึงครับ
สำหรับวันนี้พอเท่านี้ก่อนนะครับ ถ้าสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษสามารถสอบถามมาได้ที่นี่ครับ FB
Tae