วิธีการติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Google Tag Manager
Google Analytics คืออะไร ?
Google Analytics นั้นเป็นเครื่องมือฟรี (มีแบบเสียตังค์ด้วย) ของทาง Google เอง โดยตัวมันเองนั้นทำหน้าที่เก็บสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ รวมไปถึงพฤติกรรมของคนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ เช่น เข้าหน้าไหน ออกหน้าไหน ใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์นานมั้ย เข้ามาจากอุปกรณ์หรือมาจากช่องทางใด้บ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านั้ล้วนแต่มีประโยชน์กับบรรดานักการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
โดยวิธีใช้งานของมันนั้น สามารถนำเจ้า Tracking Code ไปติดตั้งในหน้าเว็บไซต์ทุกๆหน้าของเราได้ โดยติดตั้งภายในส่วนของ <head> ได้ครับ ทาง Google ก็จะแนะนำให้ติดตั้งไว้หลังจากเปิด <head> กันเลยทีเดียว
โดยหน้าตาของ Tracking Code ในปัจจุบันก็จะเป็นประมาณนี้ครับ
ในส่วนของ GA_TRACKING_ID ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบัญชีของแต่ละคนนะครับ วิธีติดตั้งแบบดังกล่าวจะไม่ได้พูดถึงในวันนี้เนอะ เพราะเราจะใช่ วิธีการติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Google Tag Manager เอา ซึ่งเดี๋ยวจะอธิบายแบบ Step By Step ในหัวข้อถัดๆไป แต่ว่าเจ้า GA_TRACKING_ID นี่แหล่ะ จะเป็นหัวใจในการใช้งานวันนี้ครับ
วิธีหา Google Analytics Tracking ID
ถ้าใครยังไม่มีบัญชี Google Analytics ก็สามารถไปสมัครกันได้ฟรีที่นี่ครับ google.com/analytics แต่ถ้าใครมาเจอหัวข้อนี้เข้าผมจะเหมาเอาว่ามีการใช้งาน Google Analytics อยู่แล้วเนอะ ทุกๆคนก็จะคุ้นเคยกับคำว่า Account, Property และ View กันอย่างดี เนื่องจากมันเป็น 3 ส่วนหลังๆในการจัดการกับ Setting ต่างๆในบัญชี Google Analytics นั่นเอง
ซึ่งเจ้า Tracking ID ของเรานั้นก็จะอยู่ที่ Property นั่นเอง สามารถเข้าไปดูได้ง่ายๆภายใต้หัวข้อ Tracking Info>Tracking Code หน้าตาของมันก็จะเป็น ID ที่ขึ้นต้นด้วย UA-xxxxxxx ตามตำแหน่งในรูปด้านล่างเลยครับ
เมื่อได้ Tracking ID แล้ว เราเก็บเอาไว้ก่อนครับ เดี๋ยวจะได้นำมาใช้อย่างแน่นอน !
Google Tag Manager ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
ก่อนที่เราจะเริ่มติดตั้ง GA ผ่าน Tag Manager ให้เราไปสมัครบัญชีกันก่อนนะ โดยไปที่นี่ได้เลยครับ tagmanager.google.com เมื่อได้บัญชีเรียบร้อยแล้ว เรามาทำความเข้าใจกับมันซักเล็กน้อยนะครับ ว่าเจ้า Tag Manager จะมีองค์ประกอบเบื้องต้นด้วยกันคือ
- Account เป็นที่อยู่ของ Container ต่างๆที่เราจะเอาไว้ใช้งานครับ
- Container จะเป็นที่บรรจุบรรดา Tag, Triggers หรือ Variables ซึ่งเจ้า Container จะมีทั้งสำหรับวางบน Website หรือวางบน Application ถ้าคุณมีทั้งเว็บไซต์และแอพ ก็จะต้องมี 2 Containers อยู่ใน Account นั้นๆครับ
- Tag ก็คือเจ้า Code ต่างๆที่เราเอาไปวางบนหน้าเว็บไซต์นั่นเอง เช่น Google Analytics, Facebook Pixel หรือแม้กระทั่ง Google Adwords Remarketing
- Triggers เอาไว้สั่งให้ Tag ต่างๆนั้นทำงาน
- Variables จริงๆแล้วคือตัวแปรตรงตัวเลยครับ เป็นได้หลายอย่างมาก เช่น URL,Click Class,Click Target
วิธีการติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Google Tag Manager
เราจะมาลองติดตั้ง Google Analytics กันครับ โดยตัวอย่างในวันนี้จะเลือกสิ่งที่เป็นพื้นฐานก่อนเลย นั่นก็คือ Page View บนเว็บไซต์นั่นเอง โดยสิ่งที่เราเตรียมไว้แล้วก็คือ Google Analytics Tracking ID จะได้นำมาใช้แล้วครับ
ขั้นตอนที่ 1 สร้าง Account ขึ้นมาใหม่ เพื่อไว้ใช้วาง Container
ขั้นแรกสุดเลยเราต้องมี Account เพื่อไว้ใช้วางกล่อง Container โดยเราจะเลือกประเภท WEB เนื่องจากเราจะทำ Page View บนเว็บไซต์นั่นเอง ปกติผมจะชอบตั้งชื่อ Container Name เป็นชื่อเว็บไซต์เพื่อความง่ายในการทำงานครับ
หลังจากสร้าง Container แล้วมันจะมี GTM Code เด้งมา โดยหน้าตาของ Code GTM นั้นจะมี 2 ส่วนด้วยกันครับ ทาง Google นั้นแนะนำให้วาง Code ชุดแรก ไว้ภายใต้ <head> ครับ ส่วนชุดที่สองนั้นจะแนะนำไว้หลังจากเปิด <body> ทันทีเลยครับ
ขั้นตอนการวาง Code GTM นั้นจะเป็นขั้นตอนเดียวที่เราไปง้อ Web Dev หลังจากนั้นไม่ว่าเราอยากจะติดตั้ง Google Analytics ติดตั้ง Facebook Pixel ติดตั้ง Remarketing Code รวมไปถึง Custom HTML ต่างๆ เราสามารถทำได้เองผ่านหน้า Dashboard ของ Google Tag Manager เองเลยครับ ไม่ต้องไปง้อพี่เดฟแล้ว lol
ขั้นตอนที่ 2 เราจะต้องสร้าง Tag ขึ้นมาเพื่อไว้ใช้เก็บ Tracking ID
เราสามารถกดสร้าง New Tag และเลือกประเภทของ Tag เป็น Universal Analytics ได้ครับ หลังจากนั้นเราก็มาตั้งค่าให้มันอีกซักนิดหน่อย เราจะเก็บ Page View ดังนั้นเราเลือก Track Type เป็น Page View ได้เลยครับ
โดยที่เราจะใส่ Tracking ID ตรง Google Analytics Settings ได้ 2 วิธีด้วยกัน คือผ่านการกำหนดตัวแปร Variables ซึ่งเราต้องตั้งค่า Variable Configuration ใหม่ และใส่ Tracking ID ตรงนั้น กับอีกวิธีหนึ่งคือ Enable overriding settings in this tag ถ้าเลือกวิธีนี้มันก็จะบังคับให้ Tag ชุดนี้ทำงานให้กับ Tracking ID ที่เราใส่ลงไปด้านล่างเลย
รูปด้านบนจะเป็นวิธี Enable overriding settings in this tag ครับ ถ้ายังไม่คุ้นกับ GTM แนะนำวิธีนี้ก่อนครับ
ขั้นตอนที่ 3 จะเป็นการกำหนด Trigger ให้ Tag ทำงาน
ขั้นตอนนี้จะเป็นการกำหนด Trigger ว่าจะให้ทำงานเมื่อใด โดยปกติแล้ว Google Analytics ประเภท Page View จะให้เราตั้งค่า Trigger ได้เลยต่อจากการสร้าง Tag ขึ้นมา ซึ่งมันยังบังคับประเภทของ Trigger ให้เองอีกว่าต้องใช้ ประเภท Page View และทำงานทุกๆ Page View เราก็ไม่ว่ากันครับ ทำมาให้ขนาดนี้แล้ว เราก็ใช้ตามนั้นได้เลยครับ 555
ถ้าเราสร้าง Tag ประเภทอื่น ต้องไปสร้าง Trigger เองนะครับ
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าการติดตั้ง Google Analytics ผ่านทาง Google Tag Manager ก็เรียบร้อยดีแล้วครับ เราอย่าลืมกด Submit เพื่อให้การแก้ไขต่างๆสามารถ Publish ไปสู่ Live Version ได้นั่นเอง เราก็สามารถดูข้อมูล Page View ได้ใน Google Analytics Dashboard ได้ทันทีครับ
ขอแบบสั้นๆได้เปล่า ?
วิธีการติดตั้ง Google Analytics ผ่าน Google Tag Manager สรุปได้สั้นๆดังนี้จ๊ะ (GA แบบ Page View นะครับ)
1. สมัครบัญชี GA และ GTM ให้เรียบร้อย
2. เข้าไปเก็บ GA Tracking ID ให้เรียบร้อย
3. สร้าง Account ใหม่ใน GTM เพื่อเอาไว้วางกล่อง Container
4. สร้าง Tag ใหม่ใน Container ที่เพิ่งสร้าง เพื่อเอา GA Tracking ID ในข้อ 2 มาวาง
5. เนื่องจากเราทำแบบ Page View เลยไม่ต้องสร้าง Trigger ใหม่เอง เลยใช้ที่ GTM บังคับมาได้เลย
6. กด Submit ให้เรียบร้อย แล้วก็ไปกด Publish เพื่อ Go Live เป็นอันจบครับ
หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆคนนะคร้าบ ส่วนใครโปรแล้ว จะลองอ่านบทความนี้ดูก็ได้นะครับ วิธีติดตั้ง Event Tracking ผ่านทาง GTM
Tae