เราสามารถพบ url fragment ได้กับเว็บไซต์แบบ one-page หรือเว็บไซต์ที่พัฒนาโดยภาษา angular อยู่อย่างเสมอ สามารถสังเกตุได้ง่ายๆว่า url ที่มีเครื่องหมาย # hashtag อยู่ใน url ด้วยนั่นเอง โดยส่วนที่ตามหลัง # เราจะเรียกว่า fragment identifier ปกติจะไว้ใช้ระบุตำแหน่งของ html ให้เรากระโดดไปยังบางส่วนของหน้าเว็บไซต์ได้โดยที่ไม่ต้อง reload page ใน Google Analytics (GA) การเปลี่ยนแปลงของ fragment นั้นจะไม่ได้ถูกนำมาคิด pageview เพราะว่ามันไม่มีการโหลดหน้าเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ หากเข้าไปดูในหน้ารายงาน จะพบเพียงข้อมูลของ url เท่านั้น อะไรที่ตามหลัง …
นักการตลาดออนไลน์น่าจะคุ้นเคยกับ Google Analytics (GA) กันเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าน่าจะเป็นอย่างแรกของวันที่ต้องทำหลังจากเปิดคอมพิวเตอร์กันเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะเปิด facebook ก่อน 555 แต่ว่าวันนี้ ในบทความนี้จะไม่ได้พูดถึงทุกๆฟีเจอร์ของ GA แต่อยากจะพูดถึง Channel Groupings และประโยชน์ที่น่าจะได้จากมันกันครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการกำจัดเจ้า (Other) ออกไปจากหน้ารายงานเรากันครับ ทำความรู้จักกับ Channel ใน Google Analytics กันก่อน ใน GA นั้น คำว่า Channel จะหมายความถึง กลุ่มของ traffic ที่มาจาก medium เดียวกัน ขอยกตัวอย่างของ Channel ที่ชื่อว่า …
มาทำความรู้จักกับ Referral ใน Google Analytics กันก่อนดีกว่า วันนี้จะมาแนะนำตัวละครเอกของเราอีกตัวหนึ่งใน Google Analytics นั่นก็คือ Referral Traffic ซึ่งคุณจะพบได้ในรายงานของคุณ กรณีที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณนั้นเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณผ่านทางแหล่งที่มาอื่นๆ ไอ้เจ้าแหล่งที่มาอื่นๆนี่แหล่ะครับ Google Analytics ให้ชื่อมันว่า Referral ลองดูหน้า Report ตัว A หรือ Acqusition Report ในรูปด้านล่างได้ครับว่า Referral นั้นใกล้ตัวมากๆ ไม่ว่าจะเป็น facebook, medium หรือ instragram โดยปกติแล้ว Source/Medium ที่เป็น Referral ทาง GA …
Google Analytics คืออะไร ? Google Analytics นั้นเป็นเครื่องมือฟรี (มีแบบเสียตังค์ด้วย) ของทาง Google เอง โดยตัวมันเองนั้นทำหน้าที่เก็บสถิติเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ รวมไปถึงพฤติกรรมของคนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซด์ เช่น เข้าหน้าไหน ออกหน้าไหน ใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์นานมั้ย เข้ามาจากอุปกรณ์หรือมาจากช่องทางใด้บ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านั้ล้วนแต่มีประโยชน์กับบรรดานักการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยวิธีใช้งานของมันนั้น สามารถนำเจ้า Tracking Code ไปติดตั้งในหน้าเว็บไซต์ทุกๆหน้าของเราได้ โดยติดตั้งภายในส่วนของ <head> ได้ครับ ทาง Google ก็จะแนะนำให้ติดตั้งไว้หลังจากเปิด <head> กันเลยทีเดียว โดยหน้าตาของ Tracking Code ในปัจจุบันก็จะเป็นประมาณนี้ครับ ในส่วนของ GA_TRACKING_ID ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละบัญชีของแต่ละคนนะครับ วิธีติดตั้งแบบดังกล่าวจะไม่ได้พูดถึงในวันนี้เนอะ …
ทำไมข้อมูลใน Facebook Ads และ Google Analytics ไม่ตรงกัน ? ก่อนที่เราจะไปพูดถึง Conversion ที่ไม่ตรงกันนั้น เรามาเริ่มกันถึงสาเหตุที่ข้อมูลใน Facebook Ads และ Google Analytics ไม่ตรงกันก่อนดีกว่าครับ ซึ่งเหตุผลที่ข้อมูลโดยทั่วไปของ Facebook Ads และ Google Analytics ไม่ตรงกันเท่าไหร่นั้นเกิดจากสาเหตุประมาณนี้ครับ 1. GA Code ไม่ทำงานตอนโหลดหน้า Landing Page อาจจะเพราะวาง Code ผิดที่หรือแม้กระทั่ง Code หายไป ทำให้ Facebook Ads ก็เก็บข้อมูลไปฝั่งเดียวนั่นเอง …
Internal Traffic ในรายงาน Google Analytics ปัญหา Internal Traffic ในรายงาน Google Analytics นั้นหลายๆคนอาจจะมองข้ามกันไป แต่ถ้าบังเอิญว่าเว็บไซต์ของคุณนั้น เป็นเว็บไซต์ของบริษัทที่มีพนักงานจำนวนมาก แน่นอนว่า Traffic ของพนักงานเหล่านั้น จะทำให้รายงานของเรานั้นมีค่าที่มากกว่าปกติ มีการผิดเพี้ยนไปจากข้อมูลที่เราควรจะได้รับ สมมุติว่าบริษัทผมมีพนักงาน 500 คน ทั้ง 500 คนนั้นเข้ามาที่เว็บไซต์กันวันละครั้งสองครั้ง ผมจะมี sessions ภายในเกิดขึ้นมาวันละ 1,000 sessions ไม่อยากจะคิดเลยว่ามันทำให้ข้อมูลที่เอาไปใช้ต่อผิดเพี้ยนไปเท่าไหร่ ดังนั้นแล้ว เราควรจะ Filters เจ้า Internal Traffic นี้ออกไปจากรายงานของเรากันครับ วิธีการดู IP …
วัดผลด้วย Event Tracking เมื่อนานมาแล้วผมเคยเขียนอธิบายการใช้งาน Event Tracking เพื่อทำการวัดผลพวก Outbound Link รวมไปถึงปุ่ม Submit Form โดยครั้งก่อนนู้นนั้นผมแนะนำวิธีการเพิ่ม code ชิ้นเล็กๆเข้าไปตามปุ่ม หรือ Link ภายนอกต่าง ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าเหล่านักการตลาดออนไลน์ที่ไม่มีพื้นฐาน coding (รวมถึงผมด้วย 555) จะปวดหัวกับมันมากๆ ยิ่งโดยเฉพาะคนที่จ้าง Programmer หรือ Web Dev. แล้วอยากจะแก้ไข/เพิ่มเติม Code ที่เกี่ยวข้องกับ Marketing ลงไปนะ กว่าจะคุยรู้เรื่อง ใช้เวลาพอๆกับขายงานลูกค้าเลย T-T วันนี้เราจะมาทำ Event Tracking กันอีกวิธีนึง …
วัดผล Adwords Sitelinks ด้วย Google Analytics ถ้าหากว่าเพื่อนๆเป็นหนึ่งในคนที่ทำการตลาดออนไลน์ ด้วยการใช้ Google Adwords อยู่แล้ว ผมค่อนข้างมั่นใจว่าเพื่อนๆคงจะคุ้นเคยกับเจ้า Sitelinks Extension กันเป็นอย่างดี แต่ถ้าหากว่าคุณยังไม่คุ้นกับมัน คุณต้องกับไปทำการบ้านเพิ่มเติมแล้วล่ะครับ เพราะไอ้เจ้า Sitelinks Extension เนี๊ยะ มันมีประโยชน์ต่อ Campaign ของคุณค่อนข้างเยอะทีเดียว ลองมองดูหน้าตาของ Sitelinks Extension ได้จากรูปด่านล่างนะครับ ^^ โดยปกติแล้ว Google Adwords นั้นจะไม่แสดงจำนวนครั้งที่ Sitelinks ถูกคลิ๊กแยกออกจากจำนวนคลิ๊กของโฆษณาทั้งหมด หมายความว่า คุณจะไม่รู้เลยว่า Sitelinks ตัวไหน ถูกคลิ๊กที่ตัวมันเอง …
Bounce Rate vs. Exit Rate เพื่อนๆที่เพิ่งคุ้นเคยกับ Google Analytics อาจจะยังแยกข้อมูล 2 ค่านี้ไม่ออกว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ข้อมูล 2 ค่าที่ว่านั้นก็คือ Bounce Rate (อัตราการตีกลับ) และ Exit Rate (อัตราการออก) เดี๋ยววันนี้ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆ ว่าวิธีคิดคำนวณอัตราส่วนเหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร ^^ Bounce Rate หรืออัตราการตีกลับนั้นถ้าให้อธิบายง่ายๆก็คือ เมื่อคนคลิ๊กเข้าเว็บไซต์มาแล้ว ไม่ไปต่อ คลิ๊กออกทันที Exit Rate หรืออัตราการออก จะถูกคิดเมื่อหน้านั้นๆ เป็นหน้าสุดท้ายใน Sessions ครับ อัตราส่วนเหล่านี้สามารถช่วยคุณวิเคราะห์คุณภาพ Website …
วิธีใช้งาน Event Tracking ใน Google Analytics Event Tracking ใน Google Analytics นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายแบบมากๆครับ ถ้าคุณติดตั้ง Google Analytics ใน Website ของคุณอยู่แล้วล่ะก็ เพียงแค่เพิ่มเติม Code ชุดเล็กๆเข้าไปอีก ก็จะสามารถ Track ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้อีกครับ โดยข้อมูลทั่วไปที่เราสามารถ Track เพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่างเช่น การคลิ๊ก Link ภายนอก, การคลิ๊กแบนเนอร์ รวมไปถึงการกดปุ่ม Submit แบบฟอร์มของคุณ การทำงานของเจ้า Event Tracking นั้นจะเป็นการส่งข้อมูล 4 …